เมนู

บุคคลได้สดับเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็น
ที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี เสวยสัท-
ทารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺทํ ได้แก่ สัททารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด.
บทว่า สํสารอุปคามิโน ความว่า ชื่อว่าผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร เพราะ
เข้าถึงสงสารอันเป็นตัวเหตุแห่งสังสารวัฏ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยังเป็นไปไม่ขาด
สาย ท่านก็เรียกว่า สงสาร
ดังนี้.
ปาฐะว่า สํสารูปคามิโน ดังนี้ ก็มี. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในคาถาติดต่อกันไป.
จบอรรถกถาอุตติยเถรคาถา

10. เทวสภเถรคาถา (ที่ 2)
ว่าด้วยคาถาของพระเทวสภเถระ


[237] ได้ยินว่า พระเทวสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ มีสติปัฏฐาน
เป็นอารมณ์ ประดับประดาด้วยดอกไม้ คือ วิมุตติ
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน.

จบวรรคที่ 10